เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 4. อุปาทินนติกะ 7. ปัญหาวาร
อาหาระ ได้แก่ กวฬิงการาหารที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
และเป็นอารมณ์ของอุปาทานและที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่
เป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่กายที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานและที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึด
ถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอัตถิปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
และที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็น
ปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานโดยอัตถิปัจจัย มี 3 อย่าง คือ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและ
ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน กวฬิงการาหารที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานและรูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดย
อัตถิปัจจัย (1)

นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย และอวิคตปัจจัย
[87] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์
ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
และเป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยนัตถิปัจจัย เป็นปัจจัยโดยวิคตปัจจัย เป็นปัจจัย
โดยอวิคตปัจจัย (ย่อ)

1. ปัจจยานุโลม 2. สังขยาวาร
สุทธนัย
[88] เหตุปัจจัย มี 7 วาระ
อารัมมณปัจจัย มี 6 วาระ
อธิปติปัจจัย มี 5 วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :865 }